:: โหรา..นามมงคล ::
การตั้งชื่อนั้นนับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
ถ้ารู้จักหลักการตั้งชื่ออย่างถูกต้อง ก็จะได้ชื่อที่ดีและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
ได้ชื่อดีก็เหมือน " ถูกโฉลก " คนบางคนมีความมานะพยายาม
อดทนขยันขันแข็งต่อสู้การงาน แต่ชีวิตก็ยังยากลำบากฐานะความเป็นอยู่ไม่ได้ดีขึ้นเลย
พบกับความทุกข์ผิดหวังต่างๆอยู่เป็นประจำ อาจทำให้หมดกำลังใจที่จะต่อสู้ชีวิต
เขาเหล่านั้นคงไม่ทราบหรอกว่า ชื่อของเขานั้นไม่สมพงศ์กับดวงชะตา ไม่ถูกโฉลก
บางชื่อนั้นเป็น " กาลกิณี " กับเจ้าชะตา การมีชื่อที่ไม่ถูกโฉลกกับตัวเอง
ย่อมเหมือนกับการว่าตัวเอง , ด่าตัวเองหรือแช่งตัวเอง ชื่อไม่ดีหรือเป็น
กาลกิณีหากนำมาใช้เรียกตัวเองอยู่บ่อยๆนั้น ก็เหมือนถูกด่าถูกแช่งทุกครั้งที่มีคนมาเรียกชื่อเรา
ในทางตรงกันข้ามหากมีชื่อเป็นมงคล ทุกครั้งที่มี คนมาเรียกชื่อเราก็เหมือนกับมีคนมาอวยพรให้พร
ให้มีโชคมีลาภ มีความสุข ความเจริญ ทุกครั้งที่เอ่ยเรียกชื่อเรา
เรื่องของการตั้งชื่อนั้น ตามคัมภีร์โหราศาสตร์ว่าด้วย "ทักษสังคหปกรณ์" นั้นเรียกว่า "นามกรรม หรือ นามอันเกิดแต่กรรม" อันหมายถึง ชื่อ อันถูกเรียกขาน ทั้งชื่อจริง ชื่อเล่น และยังความหมายความรวมถึง นามสกุล ด้วย
หลักโหราศาสตร์ในการตั้งชื่อ
1. อย่าให้ดาวกาลกิณีมีกำลัง
2. ให้ใช่อักษรนามเป็นคู่มิตร คู่ธาตุ คู่สมพล และให้มีความหมาย
3. พิจารณาตั้งชื่อจากนามวันเกืดก่อน โดยคำนึงถึงชื่อของบิดามารดา และพี่น้องของเจ้าชะตา
4. ต้องมีการผูกดวงชะตา ขึ้นพิจารณาประกอบด้วยว่า การที่จะใช้อักษรวรรคของนามวันเกิด มีข้อขัดข้อง ขัดกับดวงชะตา หรือเป็นที่อุปการะแก่ดวงชะตาหรือไม่ แล้วควรจะแก้ไข หรือ ใช้อักษรวรรคใด ในการส่งเสริมให้ดวงชะตา ดีขึ้น หากจำเป็นต้องใช้อักษรวรรคกาลกิณี ประกอบในชื่อ ก็ต้องพึงยึดหลักว่า "โหรไทยไม่กลัวกาลกิณี แต่กลัวดาวกาลกิณีมีกำลัง"
5. ชื่อที่ควรนำมาใช้ในการตั้งชื่อ ควรมีความหมายที่ดี และถ้าหากมีความหมายเป็นการเสริมดวงชะตา ยิ่งจะดีมากขึ้น เป็นทวีคูณ
6. ชื่อที่เกินวาสนา เช่นชื่อเทพเจ้าไม่ควรนำมาใช้
7. ความหมายของชื่อ ที่ขัดกับวันเกิด ควรหลีกเลี่ยง
การเปลี่ยนชื่อ (เปลี่ยนทักษานามกรรม)
โบราณท่านเรียกว่า "การผลัดชื่อ" ก็ทีกรรมวิธีเดียวกับ เรื่องการตั้งชื่อ แต่มีส่วนที่เพิ่มเติมอยู่ตรงเรื่อง "ฤกษ์ตั้วชื่อ" และตัวบุคคลที่จะทำการตั้งชื่อให้ มีเค็ดเพิ่มเติม คือ
1. ถ้าผู้เปลี่ยนชื่อเป็ยผู้ใหญ่ ควรขอชื่อจากโหร ไปให้พระสงฆ์ท่านตั้งให้ แต่ถ้าผู้ที่ตั้งชื่อเดิม เป็นพระสงฆ์อยู่แล้ว ผู้ที่จะทำการตั้งชื่อให้ใหม่ได้ ต้องมีสมณศักดิ์สู่งกว่า
2. การตั้งชื่อใหม่ ให้หาก่อนว่าดาวอะไรที่เป็นโทษ แล้วจึงแก้ที่ดาวนั้น โดยจะต้องคำนึงถึง เรื่องวัยประกอบด้วย เช่นดาวที่ให้โทษนั้น ให้โทษในตอนปฐมวัย แต่ถ้าตอนนี้ เจ้าชะตา อายุ 40 ปีแล้ว การที่จะไปแก้ดาวที่ให้โทษในวัยต้น คงไม่มีประโยชน์อะไร ให้คำนึงถึงวัยปัจจุบัน สำคัญกว่า
เรื่องของการตั้งชื่อนั้น ตามคัมภีร์โหราศาสตร์ว่าด้วย "ทักษสังคหปกรณ์" นั้นเรียกว่า "นามกรรม หรือ นามอันเกิดแต่กรรม" อันหมายถึง ชื่อ อันถูกเรียกขาน ทั้งชื่อจริง ชื่อเล่น และยังความหมายความรวมถึง นามสกุล ด้วย
หลักโหราศาสตร์ในการตั้งชื่อ
1. อย่าให้ดาวกาลกิณีมีกำลัง
2. ให้ใช่อักษรนามเป็นคู่มิตร คู่ธาตุ คู่สมพล และให้มีความหมาย
3. พิจารณาตั้งชื่อจากนามวันเกืดก่อน โดยคำนึงถึงชื่อของบิดามารดา และพี่น้องของเจ้าชะตา
4. ต้องมีการผูกดวงชะตา ขึ้นพิจารณาประกอบด้วยว่า การที่จะใช้อักษรวรรคของนามวันเกิด มีข้อขัดข้อง ขัดกับดวงชะตา หรือเป็นที่อุปการะแก่ดวงชะตาหรือไม่ แล้วควรจะแก้ไข หรือ ใช้อักษรวรรคใด ในการส่งเสริมให้ดวงชะตา ดีขึ้น หากจำเป็นต้องใช้อักษรวรรคกาลกิณี ประกอบในชื่อ ก็ต้องพึงยึดหลักว่า "โหรไทยไม่กลัวกาลกิณี แต่กลัวดาวกาลกิณีมีกำลัง"
5. ชื่อที่ควรนำมาใช้ในการตั้งชื่อ ควรมีความหมายที่ดี และถ้าหากมีความหมายเป็นการเสริมดวงชะตา ยิ่งจะดีมากขึ้น เป็นทวีคูณ
6. ชื่อที่เกินวาสนา เช่นชื่อเทพเจ้าไม่ควรนำมาใช้
7. ความหมายของชื่อ ที่ขัดกับวันเกิด ควรหลีกเลี่ยง
การเปลี่ยนชื่อ (เปลี่ยนทักษานามกรรม)
โบราณท่านเรียกว่า "การผลัดชื่อ" ก็ทีกรรมวิธีเดียวกับ เรื่องการตั้งชื่อ แต่มีส่วนที่เพิ่มเติมอยู่ตรงเรื่อง "ฤกษ์ตั้วชื่อ" และตัวบุคคลที่จะทำการตั้งชื่อให้ มีเค็ดเพิ่มเติม คือ
1. ถ้าผู้เปลี่ยนชื่อเป็ยผู้ใหญ่ ควรขอชื่อจากโหร ไปให้พระสงฆ์ท่านตั้งให้ แต่ถ้าผู้ที่ตั้งชื่อเดิม เป็นพระสงฆ์อยู่แล้ว ผู้ที่จะทำการตั้งชื่อให้ใหม่ได้ ต้องมีสมณศักดิ์สู่งกว่า
2. การตั้งชื่อใหม่ ให้หาก่อนว่าดาวอะไรที่เป็นโทษ แล้วจึงแก้ที่ดาวนั้น โดยจะต้องคำนึงถึง เรื่องวัยประกอบด้วย เช่นดาวที่ให้โทษนั้น ให้โทษในตอนปฐมวัย แต่ถ้าตอนนี้ เจ้าชะตา อายุ 40 ปีแล้ว การที่จะไปแก้ดาวที่ให้โทษในวัยต้น คงไม่มีประโยชน์อะไร ให้คำนึงถึงวัยปัจจุบัน สำคัญกว่า